2019-09-16 14:27
page's view : 218
ภายในร่างกายของมนุษย์ทุกคนนั้นมีระบบกายละเอียด ซึ่งประกอบไปด้วย ๗ ศูนย์พลัง (จักระ) ๓ สามช่องพลัง (นาดี) และพลังกุณฑลินีซึ่งสถิตอยู่ในกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ
ในทางกายภาพ จักระนั้นจะสอดคล้องกับร่างแหประสาทของระบบประสาทส่วนกลาง ส่วนช่องพลังนั้นจะสอดคล้องกับระบบประสาทที่เห็นอกเห็นใจ (ซิมพาเทติก) และระบบประสาทกระซิก (พาราซิมพาเทติก) ภายในกระดูกสันหลัง เหตุผลที่เราเรียกศูนย์พลังเหล่านี้ว่าจักระเป็นเพราะว่าจักระในภาษาสันสกฤตนั้นแปลว่าวงล้อ และศูนย์พลังนั้นหมุนตามเข็มนาฬิกาเปรียบเสมือนวงล้อที่กำลังหมุน จักระนั้นยังมีความคล้ายกับดอกบัวอีกด้วยเนื่องจากว่าในแต่ละจักระจะมีจำนวนกลีบเท่ากับจำนวนร่างแหย่อย (คุณสมบัติ) ภายในร่างแหประสาท
1. จักระมูลาธาระ
ลักษณะทางกายภาพ: เครือข่ายเส้นประสาทอุ้งเชิงกราน (pelvic plexus / inferior hypogastric plexus)
จำนวนกลีบ(ร่างแหประสาทย่อย): 4
ธาตุ: ดิน
ควบคุม: ระบบขับถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์
คุณสมบัติ: ความไร้เดียงสาและปัญญา
2. จักระาสวาธิษฐาน
ลักษณะทางกายภาพ: เครือข่ายเส้นประสาทช่องท้องของหลอดเลือด (abdominal aortic plexus)
จำนวนกลีบ(ร่างแหประสาทย่อย): 6
ธาตุ: ไฟ
ควบคุม: ไต ตับ ตับอ่อน ม้าม มดลูก และลำไส้
คุณสมบัติ: ความสร้างสรรค์ สติที่บริสุทธิ์ ความปรารถนาที่บริสุทธิ์ และความรู้ที่บริสุทธิ์
3. จักระนาภี
ลักษณะทางกายภาพ: เครือข่ายเส้นประสาทช่องท้องของดวงอาทิตย์ (solar plexus)
จำนวนกลีบ(ร่างแหประสาทย่อย): 10
ธาตุ: น้ำ
ควบคุม: กระเพาะ ลำไส้ ตับ และม้าม
คุณสมบัติ: การใฝ่หา ความสงบ สันติ ความเอื้ออาทร ความพึงพอใจ สติที่บริสุทธิ์ และความห่วงใยผู้อื่น
4. จักระอนาหตะ (จักระหัวใจ)
ลักษณะทางกายภาพ: เครือข่ายเส้นประสาทหัวใจ (cardiac plexus)
จำนวนกลีบ(ร่างแหประสาทย่อย): 12
ธาตุ: อากาศ
ควบคุม: หัวใจ ปอด และกระดูกอก
คุณสมบัติ: ความสุข ความเห็นอกเห็นใจ ความรู้สึกปลอดภัย ความรัก และความรับผิดชอบ
5. จักระวิศุทธิ
ลักษณะทางกายภาพ: เครือข่ายเส้นประสาทส่วนคอ (cervical plexus)
จำนวนกลีบ(ร่างแหประสาทย่อย): 16
ธาตุ: ท้องฟ้า อวกาศ และอากาศธาตุ (อีเธอร์)
ควบคุม: คอ แขน ใบหน้า ลิ้น ปาก จมูก และฟัน
คุณสมบัติ: พูดจาอ่อนหวาน ศิลปะการทูต ความเป็นส่วนรวม ความปล่อยวาง ความเคารพตนเองและผู้อื่น ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องชายและหญิง และความมีหน้าที่รับผิดชอบ
6. จักระอักนียะ
ลักษณะทางกายภาพ: ส่วนไขว้ประสาทตา (optic chiasm)
จำนวนกลีบ(ร่างแหประสาทย่อย): 2
ธาตุ: แสง
ควบคุม: ต่อมพีนิอัล (Pineal gland) ต่อมพิทูอิทารี (Pituitary gland) สายตา ความจำ และสติปัญญา
คุณสมบัติ: การให้อภัย
7. จักระสหัสราระ (จักระมงกุฎ)
ลักษณะทางกายภาพ: ระบบลิมบิกในสมอง (limbic area)
จำนวนกลีบ(ร่างแหประสาทย่อย): 1000
คุณสมบัติ: ความปิติสุข สติซึ่งปราศจากความคิด ความเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
มูลนิธิสหจะโยคะเป็นมูลนิธิที่ซึ่งไม่ได้แสวงหาผลกําไรและอุทิศตนเพื่อการพัฒนาตนเองเพื่อการตระหนักรู้ภายในตนเองโดยวิธีการนั่งสมาธิแบบสหจะโยคะ เราปราถนาให้ผู้ฝึกสมาธิได้เข้าถึงความปิติสุข ความเป็นหนึ่งเดียว และเพื่อให้ผู้ฝึกสมาธิได้ค้นพบตัวตนภายใน ความปิติสุขเบิกบาน ความรัก ความเมตตากรุณา และเข้าถึงแก่นแท้ของสัจธรรมโดยการนั่งสมาธิแบบ "สหจะโยคะ"